ประหารชีวิต! นักโทษคดีฆ่าชิงทรัพย์ เครดิตภาพจาก https://www.matichon.co.th/local/crime/news_1003984 |
- ข่าวหนึ่งที่ฮิตติดกระแสที่คนพูดถึงกันมากในช่วงนี้ คงไม่พ้นเรื่อง “โทษประหารชีวิต” ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนมาก ถึงขนาดเป็นกระแสที่ทำให้ในทวิตเตอร์เอง มีแฮชแท็ก #ประหารชีวิต ติดอันดับหนึ่งในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ ประหารชีวิตนักโทษ ในคดีฆ่าชิงทรัพย์นักเรียนชั้น ม.5 อย่างโหดร้ายทารุณ กลางสวนสาธารณะในจังหวัดตรัง ถือเป็นนักโทษที่ถูกฉีดยาพิษให้ตายคนแรก ในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา
#ประหารชีวิต ติดอันดับหนึ่งในทวิตเตอร์ไทย |
- หนำซ้ำยังมีการเปิดรับโหวตว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่สังคมไทยมีโทษประหารชีวิต? และที่น่าตกใจคือ คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิต
เปิดโหวต!! เห็นด้วยหรือไม่? สังคมไทยมีโทษประหารชีวิต |
พ.ศ.2478 จนถึงปัจจุบัน มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิตมาแล้ว 325 ราย แบ่งออกเป็นใช้อาวุธปืน 319 ราย รายแรก คือ นักโทษชาย (สิบเอก) สวัสดิ์ มะหะหมัด คดีประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล (กบฏนายสิบ) ลงโทษด้วยการยิงด้วยอาวุธปืน (ยิงเป้า) เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2548 เวลาเที่ยงคืน ที่ป้อมจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ
รายสุดท้ายที่ถูกยิงเป้า คือ นักโทษชายสุดใจ ชนะ ผู้ต้องขังคดียาเสพติด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2546 ที่เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี
- ส่วนการประหารชีวิตด้วยสารพิษ ตามกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ประกอบมาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิตนักโทษ พ.ศ.2546 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีการฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย
- เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2546 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2552 รวม 6 ราย
- หมายเหตุ: ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 จะครบ 9 ปี ของโทษประหารชีวิต (18 มิถุนายน พ.ศ.2561)
การบังคับใช้โทษประหารชีวิตในไทย |
- ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ กัมพูชา และฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต สำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภทแล้ว ส่วนบรูไน ลาว และเมียนมา ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ซึ่งหมายถึงการที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตจริงเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร์ และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่
เปิดสถิตินักโทษประหารชีวิตล่าสุด 517 คน
- ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ ได้สรุปสถิตินักโทษประหารชีวิต ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2561 ว่ามีทั้งหมด 517 คน ชาย 415 คน หญิง 102 คน แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ 287 คน ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาฎีกา 30 คน และนักโทษเด็ดขาดเมื่อคดีถึงที่สุด 200 คน กรณีแบ่งเป็นประเภทความผิด 3 คดี คือ คดียาเสพติดให้โทษ อุทธรณ์ 189 คน ฎีกา 24 คน และเด็ดขาด 83 คน คดีความผิดทั่วไป อุทธรณ์ 95 คน ฎีกา 6 คน และเด็ดขาด 117 คน และคดีความมั่นคง อุทธรณ์ 3 คน ฎีกา และเด็ดขาดไม่มี
นักโทษประหาร 517 คน เครดิตภาพจาก https://www.thairath.co.th/content/1312366 |
- ผศ. พ.ต.ท. ดร. กฤษณพงค์ พูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันอาชญวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวกับบีบีซีไทยว่า การลงโทษในทางอาชญวิทยามีความคิดที่ต่างกัน 2 แบบ คือ การลงโทษเพื่อแก้แค้น อันเป็นการเยียวยาความรู้สึกของผู้เสียหายว่าได้รับความยุติธรรม ด้วยเหตุผลที่ว่า "เพราะคนที่ฆ่าเขาก็น่าจะต้องถูกฆ่าด้วย"
- ในขณะที่อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ การลงโทษเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู และ เยียวยา ซึ่งมีแนวคิดเบื้องหลังว่าคนประกอบอาชญากรรมมักเป็นคนยากจน ไร้การศึกษา ซึ่งไม่มีทางออกในชีวิต ซึ่งก็มีข้อมูลมากมายที่สนับสนุนแนวคิดเช่นนี้ และก็เป็นแนวคิดที่ใช้กันเรื่องการลงโทษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
โทษประหารชีวิต ละเมิดสิทธิ์ หรือยุติอาชญากรรม เครดิตภาพจาก https://news.thaipbs.or.th/content/272858 |
- ผศ. พ.ต.ท. ดร. กฤษณพงค์ ชี้ว่า มีข้อมูลในเชิงสถิติจากการศึกษามากมายว่า โทษประหารไม่ได้ทำให้อัตราการกระทำผิดในสังคมลดลง อีกทั้งหลายฝ่ายเห็นว่า การประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิพื้นฐาน คือ สิทธิความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง
- ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพนั้นดีกว่า การลงโทษเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา เพราะตอนนี้กรมราชทัณฑ์ก็ต้องดูแลนักโทษมากกว่าสามแสนคน คุกไทยนั้นแออัดอย่างมาก"
- นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า โทษประหารชีวิตไม่มีผลในการยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง หรือทำให้สังคมปลอดภัย และสมควรมีการยกเลิกโทษประหารนั้น จากผลการวิจัยทั่วโลกระบุว่า การประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรมที่รุนแรง หรือทำให้สังคมปลอดภัยขึ้นได้ แต่ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสังคม กระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ เพราะย่อมมีความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาดได้ เนื่องจากไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรม สม่ำเสมอโดยที่ไม่มีข้อบกพร่อง เพราะอาจมีแพะที่ถูกประหารชีวิตไปแล้วไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้
- เมื่อพิจารณาตามหลักการลงโทษด้านอาชญวิทยาจะให้เห็นได้ว่า โทษประหารไม่ได้แก้ไขปัญหา คือ ควรใช้การแก้ไข ไม่ใช่แก้แค้น จากสถิติยืนยันว่า ประหารไปแล้ว 326 คน อาชญากรรมก็ไม่ได้ลดลงเลย และมีอีก 517 คน ที่กำลังรอโทษประหาร ให้ตายตกไปตามกัน
เครดิตภาพจาก http://news.thaipbs.or.th/content/272904 |
- จากนั้นก็มีข่าวว่า พยานคนหนึ่งอ้างว่านักโทษที่ถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต ไม่ใช่ผู้ก่อเหตุตัวจริง แค่ผ่านมาในจุดเกิดเหตุเท่านั้น
คนทำความผิดจนต้องโทษประหารชีวิตหรือต้องโทษน้อยกว่านั้น เป็นเพราะไม่สามารถควบคุมใจ ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ หรือไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ขาดกำลังใจในการทำความดี การแก้ปัญหาคนทำความผิดโดยใช้ความละมุนละม่อม และได้ผลที่ยั่งยืนถาวรกว่า คือ การพัฒนาศีลธรรมซึ่งอยู่ในใจของคน ด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และการปลูกฝังศีลธรรมให้ทั้งเยาวชน จัดอบรมศีลธรรมให้กลุ่มบุคคลในวัยต่างๆ ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตใจหนักแน่นมั่นคงในความดี ซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือป้องกันการก่ออาชญากรรม ลดจำนวนผู้ต้องขัง ลดภาระของรัฐในการดูแลผู้ก่ออาชญากรรม และโทษประหารชีวิตก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์ที่คุกว่างไม่มีนักโทษ
ไม่มีวิธีการใดที่จะทำให้มวลมนุษยชาติพ้นจากความทุกข์ทรมานของชีวิตได้ นอกจากพุทธวิธี |
https://www.thairath.co.th/content/1312366
https://www.bbc.com/thai/thailand-44534477
https://news.thaipbs.or.th/content/272858
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/530479
https://www.posttoday.com/social/general/497512
http://news.thaipbs.or.th/content/272904
https://www.bbc.com/thai/international-37966697