แชร์ไปได้บุญ

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บวชพระ กับ บวชต้นไม้ ความหมายที่เหมือนกันในมุมมองที่แตกต่าง !!

    เมื่อสองสามอาทิตย์ที่แล้ว ไปงานศพที่วัดแห่งหนึ่ง เห็นมีจีวรพันต้นไม้อยู่ เลยทำให้นึกถึงประเพณีบวชต้นไม้ว่า เป็นมาอย่างไร ทำไมต้องบวช??
บวชต้นไม้ รักษาผืนป่า
เครดิตภาพจากhttp://bdkkec.blogspot.com/2018/04/blog-post.html
      “พิธีบวชต้นไม้” เป็นวิธีคิดและมีการปฏิบัติเช่นเดียวกับ “พิธีสืบชะตาแม่น้ำหรือคน” จุดประสงค์เพื่อต่ออายุให้ยืนยาวสืบไป 

     ส่วนที่มาของการ “บวชป่า” คือการห่มจีวรให้กับต้นไม้ เช่นเดียวกับการบวชพระ เป็นการยกสถานภาพของคนและต้นไม้ให้สูงขึ้นไป จัดว่าเป็นการนำความศรัทธาทางพุทธศาสนามาใช้ในการดูแลปกป้องป่าต้นน้ำ

     ขั้นตอนและวิธีการบวชต้นไม้  มีการทำพิธีเหมือนงานบุญทั่วไป โดยเจ้าของพิธีจะใช้สายสิญจน์ล้อมพื้นที่ที่จะบวชต้นไม้ จากนั้นจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านและต้นไม้ที่จะทำพิธี แล้วเจ้าของพิธีจะนำจีวรที่เตรียมไว้ไปห่มต้นไม้ดังภาพ เป็นอันเสร็จพิธี
ต้นไม้ที่บวชแล้ว ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่อาจเข้าไปทำลายได้
เครดิตภาพจากhttp://bdkkec.blogspot.com/2018/04/blog-post.html
     เชื่อกันว่า ผืนป่าที่ผ่านพิธีบวชแล้ว เป็นเสมือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถเข้าไปทำลายได้ ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเจริญเติบโต คงอยู่เพื่อคืนความชุ่มชื้นแก่ผืนดินได้เต็มที่ ทำให้ต้นน้ำฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หากผู้ใดทำลาย ภัยอันตรายจะเกิดมีแก่ผู้นั้น!!

     จากเรื่องการบวชต้นไม้ ก็หวนมานึกถึงเรื่องราวของเจ้าหน้าที่รัฐและพระภิกษุสงฆ์ในยุคนี้ ที่แม้พระคุณเจ้าท่านโดนกล่าวหาในคดี “เงินทอนวัด” ก็เข้าไปจับกุมท่านแล้วก็จับสึก ทำให้ประชาชนข้องใจว่า ทำไมถึงทำกับพระกับเจ้า ผู้เลือกชีวิตของการบวช ไม่มีอาวุธ ไม่มีทางต่อสู้ได้ขนาดนี้ 
ข้อกล่าวหายังไม่ตัดสิน จะเรียกนักโทษประหารได้อย่างไร?
      ได้ไปคุยกับผู้มีความรู้ทางกฎหมายท่านหนึ่ง ท่านให้ความเห็นต่อ ข่าวไขข้อข้องใจ เหตุใด "พระเถระ" ที่ศาลไม่ให้ประกันตัวจึงต้องสึก ไว้ว่า 

  กรณีนี้อาศัยอำนาจตาม พรบ.สงฆ์ มาตรา 29 คือ พนักงานสอบสวนใช้อำนาจดำเนินการให้พระภิกษุสละสมณเพศ 

     สาเหตุที่บัญญัติ มาตรา 29 ก็ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะปกป้องพระพุทธศาสนา คือ ไม่ต้องการให้มีภาพของพระภิกษุ (ครองจีวร) ถูกจองจำในห้องขัง และกฎหมายก็ได้ให้ทางเลือกไว้แล้ว คือ ให้เจ้าอาวาสนำไปควบคุมไว้ในวัดได้ (หากเป็นกรณีที่เจ้าอาวาสเป็นผู้ถูกดำเนินการ โดยหลักทั่วไปก็เท่ากับว่าเจ้าอาวาสรูปนั้นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ก็ต้องมีการกำหนดให้พระในลำดับถัดๆ มา ทำหน้าที่เจ้าอาวาสแทนอยู่แล้ว)
ทำไมต้องรีบให้สึก ใส่กำไลเท้าฝากไว้ที่วัดอื่นก่อน จะดีไหม !
    สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ต้องแยกให้ออกว่า ให้ถอดจีวร (เปลี่ยนชุด) กับ สละสมณเพศ (ให้สึก) มีความแตกต่างกัน / การบวช-การสึก เป็นสิทธิ์เฉพาะตนของแต่ละคน บังคับให้บวช หรือบังคับให้สึก ไม่ได้ / ผู้กระทำผิดตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในปาราชิก 4 ไม่ต้องสละสมณเพศ เพราะขาดจากความเป็นพระทันทีที่ความผิดสำเร็จ พูดง่ายๆ คือ ไม่ต้องสึก ไม่ต้องลาสิกขา จากพระกลายเป็นคนธรรมดาทันที แม้จะครองจีวรอยู่ก็ตาม

     ดังนั้น ในกรณีนี้ เมื่อพระมหาเถระรูปใดไม่ได้กล่าวคำลาสิกขา ก็ต้องถือว่า แค่เปลี่ยนชุด เท่านั้น
การให้ท่านถอดจีวรออกแล้วนำไปขัง ปฏิบัติต่อท่านเหมือนผู้ต้องโทษทั่วไป นำไปสู่การที่สื่อต่างๆ ป่าวประกาศให้คนทั่วไปรับรู้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระแล้ว ไปจนถึงให้ข่าวกล่าวหาว่า ท่านลักทรัพย์/ เสพเมถุน (ปาราชิก) ทั้งๆที่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม เป็นผลให้สังคมตัดสินว่าท่านขาดจากความเป็นพระ หลายคนหมดความเคารพ หลายคนใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับท่าน เรียกขานท่านด้วยคำที่ทำร้ายความศรัทธาของชาวพุทธ และหลายคนโพนทะนาว่า พระผิดๆ พระโกงๆ อย่างนี้ถือว่าให้ความเป็นธรรมกับพระตามสมควรแล้วหรือ ??? 

เร็วไปหรือไม่ที่เราจะตัดสินว่า พระท่านเป็นผู้ร้ายตัวจริง?? 

ถ้าผลการตัดสินของศาลยุติธรรมปรากฏออกมาว่า พระไม่ผิด ใครจะรับผิดชอบ ??? 

ถึงเวลาหรือยังที่พระควรได้รับความคุ้มครอง ??? 

ถึงเวลาหรือยังที่การดำเนินคดีกับพระควรจะต้องใช้วิธีที่แตกต่างจากคนทั่วไป ???
เตือนสติชาวพุทธ ควรปฏิบัติกับพระให้เหมาะสม
    เพราะฉะนั้น การบวชเป็นการที่ตัวของพระเอง ตัดสินใจว่า จะให้ธรรมวินัยคุ้มครองตนเองภายในผ้าเหลือง ประพฤติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับประเพณีการบวชต้นไม้ที่นำผ้าเหลืองไปล้อมต้นไม้ไว้ เพื่อปกป้องไม่ให้คนทำร้าย ทำลาย แต่คนที่ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาเห็นผิดเป็นชอบ คิดว่า การสึกพระเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย 

   ถ้าหากไม่ขอการละเว้นการตัดไม้ทำลายป่า ด้วยการบวชต้นไม้ ป่านฉะนี้ ไม้คงหมดป่าไปแล้ว ไม่มีป่า น้ำคงท่วมพอๆ กับน้ำตาของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน เช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อพระสงฆ์ด้วยจิตที่ไม่มีความเมตตา ขาดความเคารพในพระรัตนตรัย อาชญากรรมต่างๆ ในไทยจึงมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะขาดตัวอย่างของผู้ทรงศีล ทรงธรรม และผู้นำศีลธรรมไปสู่ใจประชาชน
เราเสียพระดีๆ ด้วยลูกไม้น้มาเยอะแล้ว
    เพื่อสนับสนุนว่า การสึกเป็นสิทธิ์เฉพาะตัว บังคับกันไม่ได้ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 

   การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)

   ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหา มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึก แต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจ และจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ 

    จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่า จำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ 

   เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

 (ประมวลกฎหมายอาญา ม.208: ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
วัดไม่มีเงินทอนตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน หยุดย่ำยีพระพุทธศาสนา
   หากพระไม่ผิด เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการจับกุมอาจจะถูกพระหรืออดีตพระดำเนินคดีได้ตามมาตรา 157
(มาตรา 157  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

  หยุดความคิดร้ายๆ เสียทีเถอะ ก่อนที่เรื่องราวจะใหญ่โตไปกว่านี้ เพราะแรงบาปที่ได้ทำกับพระสงฆ์ 
ขอให้เราเป็นบุคคลหนึ่งที่ช่วยกันยอยกพระพุทธศาสนา เพื่อให้ศีลธรรมยังดำรงอยู่ ทำให้ใจคนคลายจากความมืดเพราะบาปอกุศล ดีกว่าจะเผลอไผลไปคิดทำลายทำร้ายเพราะความไม่รู้จริงเลย
ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคน จะต้องออกมาปกป้องพระพุทธศาสนา ให้อยู่คู่บ้านคู่เมืองเพื่อลูกหลานสืบต่อไป

ที่มา :


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น